วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

วิธีการลดต้นทุนการผลิต



วิธีการลดต้นทุนการผลิต 7 ประการ

1) ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินความจำเป็น (over production)
นำมาซึ่งการ Over stock ของสินค้าคงคลัง
การผลิตที่มากเกินความจำเป็นหรือความต้องการของลูกค้า เนื่องมาจาก
1.1 ประมาณการความต้องการผลิตภัณฑ์ผิดพลาด
1.2 การวางแผนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ
1.3 อื่นๆ

แนวทางในการลดต้นทุนที่เกิดจากการผลิตมากเกินความจำเป็น
ฝ่ายขายต้องคอยอัพเดตและวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้า
ฝ่ายวางแผนการผลิตต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายขายเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์

2) ความสูญเสียจากการรอคอย(Waiting)
การรอคอยเป็นกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์และมูลค่า 
สาเหตุที่ทำให้เกิดการรอคอย
วัตถุดิบไม่เพียงพอ
เครื่องจักรเสีย 

แนวทางในการลดต้นทุนที่เกิดจากการรอคอย
มีการกำหนด safety stock ที่เหมาะสม
จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร (preventive maintenance)  เพื่อลดการหยุดการผลิตที่เกิดจากเครื่องจักรเสีย(machine break down)

 


3) ความสูญเสียจากการขนส่ง(Transportation) 

สาเหตุของความสูญเสียจากการขนส่ง
วางผังโรงงานที่ขาดประสิทธิภาพ
วางแผนกระบวนการที่ขาดประสิทธิภาพ

การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากการขนส่ง
ทำการปรับผังกระบวนการผลิตและผังโรงงานโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง,  

4) ความสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป(Excess Inventory) 

สาเหตุของของสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกิน
เป็นผลมากจากการผลิตที่มากเกิน
จำนวนจัดเก็บเพื่อความปลอดภัย และ ปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำ ไม่เหมาะสม

 
การลดต้นทุนที่เกิดจากการจัดเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป
ทบทวน Minimum Stock และ Safety Stock
ทบทวนแผนการผลิต

5) ความสูญเสียที่เกิดจากงานเสีย(Defect)

สาเหตุของความสูญเสียจากงานเสีย
พนักงานขาดทักษะ
ประมาท เลินเล่อ
วิธีการทำงานไม่เหมาะสม
วัตถุดิบไม่มีคุณภาพ
เครื่องจักรประสิทธิภาพต่ำ

การลดต้นทุนที่เกิดจากงานเสีย
โดยปกติแล้วงานเสียที่เกิดในกระบวนการผลิตทางหน่วยงานด้านคุณภาพจะเข้ามาวิเคราะห์ร่วมกันกับฝ่ายผลิตเพื่อสาเหตุของงานเสีย 


6) ความสูญเสียที่เกิดจาการเคลื่อนไหวมากเกินไป(Excess Motion) 

สาเหตุของการสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวมากเกินไป
วิธีการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพ
ทักษะของพนักงานไม่เพียงพอ
ผังของกระบวนการไม่เหมาะสม

การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากเคลื่อนไหวมากเกินไป
ใช้หลักการของ work study เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ แก้ไข และปรับปรุง
จัดทำวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน

7) ความสูญเสียของกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าหรือผลิตภัณฑ์ (Non-Value Added Processing)

สาเหตุของความสูญเสียที่เกิดจากกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า
ขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนอย่างแท้จริง
ยึดติดกับวิธีการเก่าที่ทำต่อเนื่องกันมา เลยทำให้อยากที่จะเปลี่ยนแปลง

การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า
มีการวิเคราะห์และศึกษากระบวนการอย่างเป็นระบบ
ใช้หลักการของวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.acccloud.co




 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น