วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562

5G คืออะไร



ช่วงนี้เรามักจะได้ยินคำพูดกันบ่อยๆนอกเหนือจาก Thailand 4.0 ก็คือคำว่ายุค 5G   
แล้ว 5G คืออะไร?
5G ก็คือเจนเนอเรชั่นที่ 5 ของการสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือ (5th Generation of Cellular Mobile Communications)  ได้มีข้อกำหนดออกมาเกือบสมบูรณ์แล้วและเตรียมจะประกาศใช้ในช่วงปี 2020 ที่จะถึงนี้  โดยคุณสมบัติของเครือข่ายที่จะเรียกตัวเองว่า 5G ได้นั้นจะมีดังนี้
  • ความเร็วสูงสุด 10Gbps
  • ระยะเวลาการเชื่อมต่อไปยังปลายทาง น้อยกว่า 0.001 วินาที
  • มีความเสถียรใช้งานได้ 99.9999%
  • ครอบคลุมพื้นที่ 100%   
  • มี Bandwidth เพิ่มขึ้น 1000 เท่าในแต่ละพื้นที่
  • รองรับการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์ เพิ่มขึ้น 100 เท่า  
  • สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ได้ดียิ่งขึ้น

 แน่นอนว่า รูปแบบการใช้ชีวิตของเราจะเปลี่ยนไปมากกว่าปัจจุบันนี้อีกหลายเท่า ดังนั้นปรับตัวเสียแต่เนิ่นๆให้ใช้เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับอนาคต นั่นคือทางรอดของธุรกิจครับ

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีในระดับนี้มาอย่างสมบูรณ์แบบ  กล่าวคือด้วยความสามารถของเทคโนโลยีโปรแกรมบัญชี AccCloud.co + 5G Technology  จะช่วยรองรับการทำงานในองค์กรในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ขั้นตอนการขายไปจนถึงการผลิต การรับชำระ การวางแผนในอนาคตโดยใช้ระบบ AI ได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

มารู้จักกับ Google My Business กัน

ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนนะครับว่า Google My Business คืออะไร
Google My Business จริงๆแล้วก็คือบริการนึง Google ที่ช่วยสนับสนุนร้านค้าและธุรกิจท้องถิ่นให้มีฐานข้อมูลที่ค้นหาได้ใน Google โดยการให้กิจการนั้นๆเพิ่มข้อมูลธุรกิจลงในฐานข้อมูลของ Google และจะแสดงผลเมื่อมีการค้นหา ประเภทธุรกิจ หรือแม้กระทั่งชื่อบริษัทของเรา  นอกจากนั้น ข้อมูลของธุรกิจจะปรากฏบนโปรแกรมอื่นๆของ Google เช่น  Google Maps  Google Search โดยจะแสดงทั้งรายะเอียดธุรกิจและ  แผนที่ ชื่อธุรกิจ เวลาทำการ  

ประโยชน์ของ Google My Business มีด้วยกันอยู่หลายข้อเช่น
ช่วยให้ลูกค้าหาธุรกิจของท่านได้ง่าย
ช่วยให้ลูกค้าทราบถึงสินค้าและ บริการของธุรกิจ
แจ้งแวลาเปิดทำงานและปิดทำการให้ลูกค้าได้ทราบ
ช่วยบอกตำแหน่งที่ตั้งของห้างร้าน
ช่วยเพิ่มโอกาสในการได้ลูกค้ารายใหม่ๆ 
และ ช่วยในด้านการทำประชาสัมพันธ์ทังก่อนและหลังการขายกับลูกค้าได้ง่ายๆ

ทราบหรือไม่ว่าการใช้โปรแกรมบัญชี AccCloud.co สามารถช่วยโอกาสในการดันอันดับ Web site ของท่านให้ขึ้นมาในตำแหน่งที่สูงขึ้นได้เพียงใช้ การ Setup ที่อยู่ภายในโปรแกรมเท่านั้น

สามารถทดสอบได้ที่ https://www.acccloud.co/ 

ศาสตร์และศิลป์แห่งการวางแผนการผลิต (ตอนที่ 1)

การวางแผนและควบคุมการผลิต
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดและให้เป็นที่พอใจแก่ความต้องการของลูกค้าความหมายของทรัพยากรในที่นี้รวมหมายถึงสิ่งอํานวยความสะดวกในการผลิตเช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์แรงงานและวัตถุดิบ การใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดนั้น เป็นหน้าที่ของผู้บริหารโรงงาน โดย ผ่านหน้าที่ของฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต โดยมีหน้าที่เกี่ยวกับการพยากรณ์การวางแผน การ กําหนดงาน การวิเคราะห์การควบคุมสินค้าคงคลัง และการควบคุมการดําเนินงานการผลิต
ดังนั้น ในขั้นตอนของการวางแผน จะต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เช่น จำนวนของสินค้าคงคลัง เครื่องจักร หรือ แรงงานที่สามารถใช้ได้ ณ เวลาหนึ่งๆ ระยะเวลาในการรอคอยของลูกค้า(ความเร่งด่วน) และต้นทุนที่เกี่ยวข้องมาช่วยในการตัดสินใจ การจัดส่งต่างๆ และอื่นๆตามในรูปที่ 1 แสดงถึงตัวแปรที่เกี่ยวข้องสำหรับการตัดสินใจวางแผนการผลิต  
 รูปที่ 1 แสดงผังการตัดสินใจในการวางแผนการผลิต

การวางแผนและควบคุมการผลิต
1  การจัดตารางการผลิตหลัก (Master Production Scheduling : MPS)
การจัดตารางการผลิตหลัก (MPS) เป็นการจัดทําแผนการผลิตที่ระบุเจาะจงลงไปว่าจะ ทําการผลิตชิ้นงานอะไร จํานวนเท่าใด และจะต้องเสร็จสมบูรณ์เมื่อใด โดยทั่วไปมักจะจัดทํา ตารางการผลิตหลักเป็นรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ข้อมูลในตารางการผลิตหลักจะมาจากการแปลงค่าจากการพยากรณ์ยอดขาย ซึ่งอาจจะคํานวณ ตามหลักทางสถิติหรือมาจากใบสั่งซื้อของลูกค้า
2 การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning : MRP)
การวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP)  เป็นเทคนิคในการจัดการเกี่ยวกับความต้องการ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบและวัสดุอื่นๆ เพื่อให้สามารถรู้ถึงปริมาณความต้องการในแต่ละ ช่วงเวลาและสามารถจัดหาได้อย่างเพียงพอและทันเวลา
โดยข้อมลจากตารางการผลิตหลัก (MPS) ซึ่งจะบอกถึงสิ่งที่จะต้องผลิตว่ามีจํานวนเท่าใด ในเวลาใด จากนั้นจะพิจารณาถึงส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตว่าประกอบด้วยวัตถุดิบ ชิ้นส่วน ชิ้นส่วนประกอบและวัสดุอื่นๆ อะไรบ้าง เพื่อจะใช้ในการจัดหา
3. การวางแผนความต้องการกําลังการผลิต (Capacity Requirement Planning : CRP)
การวางแผนความต้องการกําลังการผลิต (CRP) เป็นการจัดทําแผนที่เกี่ยวข้องกับการ กําหนดกําลังการผลิตที่จําเป็นสําหรับแต่ละสถานีงาน (Working Station) เช่น แรงงาน เครื่องจักร หรือปัจจัยการผลิตทางกายภาพอื่นๆ ว่าควรจะต้องมีปริมาณเท่าใด และต้องการในช่วงเวลาใด โดยจะรับข้อมลความต้องการวัสดุจาก MRP มาทําการประเมินผลเกี่ยวกับภาระงาน (Work Load) ของสถานีงานต่างๆ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

ที่มา: โปรแกรมบัญชี AccCloud.co  

วิธีการลดต้นทุนการผลิต



วิธีการลดต้นทุนการผลิต 7 ประการ

1) ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินความจำเป็น (over production)
นำมาซึ่งการ Over stock ของสินค้าคงคลัง
การผลิตที่มากเกินความจำเป็นหรือความต้องการของลูกค้า เนื่องมาจาก
1.1 ประมาณการความต้องการผลิตภัณฑ์ผิดพลาด
1.2 การวางแผนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ
1.3 อื่นๆ

แนวทางในการลดต้นทุนที่เกิดจากการผลิตมากเกินความจำเป็น
ฝ่ายขายต้องคอยอัพเดตและวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้า
ฝ่ายวางแผนการผลิตต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายขายเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์

2) ความสูญเสียจากการรอคอย(Waiting)
การรอคอยเป็นกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์และมูลค่า 
สาเหตุที่ทำให้เกิดการรอคอย
วัตถุดิบไม่เพียงพอ
เครื่องจักรเสีย 

แนวทางในการลดต้นทุนที่เกิดจากการรอคอย
มีการกำหนด safety stock ที่เหมาะสม
จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร (preventive maintenance)  เพื่อลดการหยุดการผลิตที่เกิดจากเครื่องจักรเสีย(machine break down)

 


3) ความสูญเสียจากการขนส่ง(Transportation) 

สาเหตุของความสูญเสียจากการขนส่ง
วางผังโรงงานที่ขาดประสิทธิภาพ
วางแผนกระบวนการที่ขาดประสิทธิภาพ

การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากการขนส่ง
ทำการปรับผังกระบวนการผลิตและผังโรงงานโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง,  

4) ความสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป(Excess Inventory) 

สาเหตุของของสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกิน
เป็นผลมากจากการผลิตที่มากเกิน
จำนวนจัดเก็บเพื่อความปลอดภัย และ ปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำ ไม่เหมาะสม

 
การลดต้นทุนที่เกิดจากการจัดเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป
ทบทวน Minimum Stock และ Safety Stock
ทบทวนแผนการผลิต

5) ความสูญเสียที่เกิดจากงานเสีย(Defect)

สาเหตุของความสูญเสียจากงานเสีย
พนักงานขาดทักษะ
ประมาท เลินเล่อ
วิธีการทำงานไม่เหมาะสม
วัตถุดิบไม่มีคุณภาพ
เครื่องจักรประสิทธิภาพต่ำ

การลดต้นทุนที่เกิดจากงานเสีย
โดยปกติแล้วงานเสียที่เกิดในกระบวนการผลิตทางหน่วยงานด้านคุณภาพจะเข้ามาวิเคราะห์ร่วมกันกับฝ่ายผลิตเพื่อสาเหตุของงานเสีย 


6) ความสูญเสียที่เกิดจาการเคลื่อนไหวมากเกินไป(Excess Motion) 

สาเหตุของการสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวมากเกินไป
วิธีการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพ
ทักษะของพนักงานไม่เพียงพอ
ผังของกระบวนการไม่เหมาะสม

การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากเคลื่อนไหวมากเกินไป
ใช้หลักการของ work study เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ แก้ไข และปรับปรุง
จัดทำวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน

7) ความสูญเสียของกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าหรือผลิตภัณฑ์ (Non-Value Added Processing)

สาเหตุของความสูญเสียที่เกิดจากกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า
ขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนอย่างแท้จริง
ยึดติดกับวิธีการเก่าที่ทำต่อเนื่องกันมา เลยทำให้อยากที่จะเปลี่ยนแปลง

การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า
มีการวิเคราะห์และศึกษากระบวนการอย่างเป็นระบบ
ใช้หลักการของวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.acccloud.co




 

อะไรคือ Web Based ERP และจำเป็นแค่ไหนในองค์กร


ถ้าพูดถึงการนำระบบ ERP มาใช้ในองคฺ์กร  หลายๆท่านอาจจะคุ้นชินกับการติดตั้งโปรแกรมที่เครื่องของเราเองและทำงาน Routine ไปในแต่ละวัน  ซึ่งในยุคอดีตที่ internet ยังไม่มีบทบาทกับชีวิตประจำวันสักเท่าไหร่ การใช้โปรแกรมบน Web Based อาจจะไม่จำเป็นนัก แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป  พฤติกรรมของคนในสังคมก็เปลี่ยนตามไปด้วยกันโดยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบัน  

การทำงานร่วมกันบนระบบ Cloud เริ่มมีบทบาทกับคนในยุคปัจจุบัน ทั้งด้านการสื่อสารและ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ  ระบบ Internet จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากยิ่งขึ้น  
ในองค์กร เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบัญชี คือหัวใจขององคฺ์กร ที่จะเก็บข้อมูลการเงิน รายได้ ค่าใช้จ่าย สินค้า และ อื่นๆด้วยโปรแกรมบัญชี   ดังนั้น โปรแกรมบัญชีที่ทำงานผ่าน CLoud ด้วยเทคโนโลยี Web Based (หน้าจอทำงานบน Google Chrome/ Safari / firefox) จึงเป็นสิ่งที่โปรแกรมทุกโปรแกรมในอนาคตจะต้องเดินไปในทิศทางนี้  ด้วยสาเหตุดังนี้
1. การขยายตัวสอดคล้องไปกับเทคโนโลยีในอนาคต หากยังยึดติดกับรูปแบบโปรแกรมที่ทำงานโดยต้องติดตั้งผ่าน windows  แน่นอนว่า การขยายตัวลำบาก ซึงจะมีผลต่อการเติบโตขององค์กรเช่นกัน  (พื้นฐานไม่ดี) 
2. การพัฒนาของ เทคโนโลยี internet และ ความเร็วที่สูงมากขึ้น ดังนั้น การทำงานของคนในองค์กรในอนาคต จะเป็นรูปแบบเคลื่อนที่ตลอดเวลา ( Mobility )  ทำให้โปรแกรมบัญชีต้อง สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานด้วยเช่นกัน
3. การเติบโตของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามา Disrupt ตลาดได้ตลอดเวลา  แน่นอนว่า ถ้าเราปรับตัวไม่ทัน  ไม่นานนักจะโดนตายไปอย่างแน่นอน  

ดังนั้นในการเลือกซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าโปรแกรมใดก็ตาม ขอให้ผู้ที่จะซื้อตัดสินใจเงื่อนไขตามนี้ว่า

1. โปรแกรมนี้สามารถเข้ามาช่วยการทำงานให้สะดวกขึ้นและ ตอบโจทย์ความต้องการหรือไม่
2. โปรแกรมนี้ทำงานแบบ Web Based Application บน Cloud หรือไม่  (ไม่ใช่เป็นโปรแกรมบน Windows แล้วไป ฝากไว้กับ Server ที่ใดที่หนึ่งแล้ว Remote เข้าไปทำงาน  นั่นเป็นเทคโนโลยีเก่ามาก ซึ่งทั่วโลกเขาหยุดใช้กันหมดแล้ว)  ถ้าเป็นแบบนั้น อย่าใช้เลยครับ เพราะเสียเงินใช้ไป ไม่นานก็ต้องเปลียนอีก เปลืองเงินและเวลาโดยใช่เหตุ
3. โปรแกรมนี้ รองรับเทคโนโลยีในอนาคตได้จริงๆหรือไม่  และ รองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยมาตรฐาน API Web service ได้หรือไม่  ถ้าไม่ได้ ก็อย่าใช้เลยครับ วันหลังเราไม่สามารถเอาข้อมูลเราไป Plug in กับระบบอะไรได้เลย นอกจาก Excel สุดท้ายต้องมาเสียเงินจ้างคนเพิ่มเพื่อให้ทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน

 

ด้วยเหตุนี้ โปรแกรมบัญชี AccCloud.co จึงได้ถูกพัฒนาเพื่อตอบวัตถุประสงค์ทางด้านนี้ และเราได้เติบโตขึ้นมาในFunction ระดับเดียวกับ ERP ขนาดใหญ่  ดังนั้น โปรแกรมบัญชี AccCloud.co จึงจัดได้ว่าเป็นโปรแกรมลูกผสมระหว่างโปรแกรมบัญชี กับ โปรแกรม ERP ในองค์กร   ที่ทำงานบน Cloud ผ่าน Web Broser อย่างแท้จริง   

ที่มา: www.acccloud.co